บทเรียนที่สำคัญประการแรก คือ การมี “เงินสำรองยามฉุกเฉิน” ยามที่ธุรกิจดำเนินการตามไปตามปรกติ เราก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปรกติ แต่ครั้นถึงยามที่ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการได้ตามปรกติแล้วนั้น ซึ่งบ่อยครั้งมักจะเกิดในยามที่เราไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน การที่มีเงินสำรองก็จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปรกติ โดยเงินสำรองยามฉุกเฉินนี้ หมายถึงเม็ดเงินที่จะสามารถนำมาจับจ่ายใช้สอยได้ในยามที่กระแสเงินสดของเราสะดุด โดยส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ซึ่งถ้าเรามีเม็ดเงินสำรองเพียงพอ เราจะไม่จำเป็นต้องไปดึงเม็ดเงินจากส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะพอร์ตการลงทุน มาใช้ในยามสถานการณ์คับขัน ซึ่งโดยปรกติแล้วในยามคับขันก็มักจะเป็นเวลาที่พอร์ตการลงทุนบอบช้ำ หากจำเป็นต้องดึงเม็ดเงินนี้ออกไป ก็จะเป็นการคว้านเนื้อพอร์ตการลงทุนให้ลึกขึ้นไปอีก การฟื้นตัวของพอร์ตก็จะลำบากยิ่งขึ้นด้วย
บทเรียนที่สอง คือ การ “มองภาพการลงทุนระยะยาว” ในช่วงต้นปีเราเห็นตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างหนักจากข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ SET Index ร่วงลงจากระดับ 1,530 กว่าๆ ในช่วงกลางเดือน ก.พ. มาเหลือเพียงประมาณ 1,000 จุดต้นๆ ในระยะเวลาเพียงเดือนเดียวเท่านั้น นับเป็นการร่วงลงที่รุนแรงและรวดเร็วทีเดียว ซึ่งหากใคร “ทน” ไม่ไหว (ซึ่งหมายถึงพอร์ตอาจมีความเสี่ยงเกินกว่าที่รับได้) และปรับพอร์ตลดสินทรัพย์เสี่ยงไปในช่วงนั้นไป คงจะไม่ได้มีส่วนร่วมกับตลาดขาที่เริ่มฟื้นตัวกลับขึ้นมาในช่วง 1-2 เดือนหลังจากนั้น จริงอยู่ว่าวิกฤติโควิดที่เกิดขึ้นทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงไปรุนแรง แต่หลังจากที่หลายประเทศสามารถรับมือกับการแพร่ระบาดได้ อีกทั้งมาตรการกระตุ้นทั้งด้านการเงินและการคลังที่เข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจไว้ ก็ช่วยเรียกความมั่นใจกลับคืนมาในตลาดได้ นอกจากนี้ แม้ว่าตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว แต่หากเปรียบเทียบกับปลายปีก่อนก็ยังมีผลตอบแทนติดลบอยู่ ขณะที่ตลาดอื่นๆ ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นหรือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างก็เริ่มกลับมาให้ผลตอบแทนเป็นบวกแล้ว ดังนั้น การศึกษาหาข้อมูลและตัดสินใจเลือกหุ้นที่ “ใช่” ก็มีความสำคัญในการเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนไม่น้อย
อีกบทเรียนที่สำคัญ คือ การ “เตรียมตัวด้านสุขภาพ” ไว้ให้พร้อม เพราะนอกจากทุนทรัพย์ที่ต้องสร้างด้วยการทำมาหากินและการลงทุนแล้ว สุขภาพที่ดีก็ถือเป็นทุนที่สำคัญสำหรับเรา นอกเหนือจากการออกกำลังกายและการรักษาสุขภาพแล้ว การมี “ประกันสุขภาพ” ก็ถือเป็นการเตรียมตัวรับความเสี่ยงที่จะเข้ามาอีกด้านหนึ่ง เพราะหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เช่น เกิดหากโชคร้ายติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นมา ค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่าย แถมรายได้ที่ถูกกระทบกระเทือน คงจะทำให้เราปวดหัวได้ไม่น้อย แต่การที่มีประกันสุขภาพไว้จะเป็นการลด “ความไม่แน่นอน” จากเรื่องไม่คาดฝันเหล่านี้ ให้กลายเป็น “ความแน่นอน” ในรูปแบบของเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย อย่าไปพูดถึงความคุ้มหรือไม่คุ้ม เพราะเป้าหมายหลักคือการของการลดความเสี่ยง (เปลี่ยนความไม่แน่นอนให้เป็นความแน่นอน) แม้ว่าโควิด-19 อาจเป็นตัวช่วยเร่งให้คนหันมาสนใจด้านสุขภาพมากขึ้น แต่สภาพแวดล้อมที่แย่ลง ปัญหาฝุ่นควันที่ดูรุนแรงขึ้นทุกปี หรือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแพงขึ้นทุกวัน การมีประกันไว้ก็อาจช่วยทำให้ “อุ่นใจ” ในการรับมือกับอนาคตได้ดีขึ้น
ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการจากบทเรียนเหล่านี้ บลจ.กรุงไทย จึงได้จัดตั้งกองทุนเปิดกรุงไทย ยกกำลังสุข(ภาพ) หรือ Krung Thai Happy Health (KTHH) ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนใน หรือ มีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมทั้งในและต่างประเทศ อาทิ หน่วย CIS และ/หรือ กองทุนรวมอีทีเอฟ และ/หรือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (กองทุนปลายทาง) ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม มีกลยุทธ์ในการบริหารแบบ Active Management โดยผู้จัดการกองทุนจะดำเนินการปรับน้ำหนักในการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และแนวโน้มภาวะตลาด เพื่อเพิ่มโอกาสด้านการลงทุนแล้ว
จุดเด่นอีกประการของกองทุนนี้ ผู้ลงทุนยังได้สิทธิความคุ้มครองประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มตามเงื่อนไขที่หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนกำหนดอีกด้วย โดยกองทุนนี้เป็นกองทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีมูลค่าเงินลงทุนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มกับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามเงื่อนไขที่หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนกำหนด ซึ่งผู้ถือหน่วยจะได้รับความคุ้มครองนับตั้งแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับ หรือนับตั้งแต่วันที่ได้รับการอนุมัติการรับประกันภัย และสิ้นสุดความคุ้มครองในกรณีใดกรณีหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุน และเนื่องจากกองทุนนี้ให้การคุ้มครองในเรื่องประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ ดังนั้นผู้ลงทุนจะต้องมีคุณสมบัติเป็นบุคคลธรรมดา ที่มีอายุระหว่าง 15-65 ปีบริบูรณ์ และเป็นบุคคลที่บริษัทประกันถือว่ามีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งพิการหรือวิกลจริต ณ วันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด แต่หากนักลงทุนท่านใดมีโรคเรื้อรังที่เป็นมาก่อนการทำประกัน กรมธรรม์จะไม่คุ้มครองโรคดังกล่าว
ทั้งนี้ บริษัทจะทำการเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) ของกองทุนเปิดกรุงไทย ยกกำลังสุข(ภาพ) หรือ Krung Thai Happy Health (KTHH) ในวันที่ 3-21 สิงหาคม 2563 นี้ และจะเปิดรับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนครั้งถัดไปได้ตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ktam.co.th หรือขอรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 ในเวลาทำการ และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ของประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ และเงื่อนไขกรมธรรม์เพิ่มเติมเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนมีปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง และความเสี่ยงจากราคาผันผวนของราคาหลักทรัพย์ เป็นต้น และกองทุนนี้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
ที่มา : โพสต์ทูเดย์
ดร. สมชัย อมรธรรม
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนและลูกค้าสัมพันธ์
บลจ. กรุงไทย
สอบถามแฟรนไชส์ WashCoin ได้ที่แชร์โพสนี้
Add Comment